ประวัติวันไหว้ครู

       วันไหว้ครู นับเป็นวันที่ศิษย์จะได้แสดงถึงคุณธรรมภายในจิตใจ คำว่า “ไหว้ครู” ถึงแม้ว่าจะเป็นถ้อยคำที่แสนธรรมดาสามัญที่ใครหลายๆ คนต่างเข้าใจกันดีอยู่ แต่จริงๆ แล้ว วันไหว้ครู คือวันที่บรรดาศิษย์ทั้งหลายจะได้แสดงความเคารพและสักการะต่อครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณ ตลอดจนผู้เสียสละชี้ทางและให้แสงสว่างแก่ศิษย์โดยไม่คำนึงถึงความยากลำบาก ซึ่งแนวความคิดวันไหว้ครูเกิดขึ้นในที่ประชุมครูทั่วประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2499 จากคำปราศรัยของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ในขณะนั้น ต่อมาได้มีการจัดงานวันครูขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500

การไหว้ครู

       การไหว้ครู เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวไทย เพราะครูเป็นคนที่ศิษย์ให้ความเคารพนับถือ เป็นผู้ถ่ายทอดสรรพวิชาความรู้ให้กับศิษย์ด้วยความรัก ความเมตตา และความปราถนาดี ครู จึงเป็นบุคคลผู้ทำหน้าที่ที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ เมื่อครั้งอดีต หนังสือ หรือสื่อการเรียนการสอนยังไม่มีแพร่หลาย ความรู้ที่ประชาชนจะได้รับ คือความรู้ที่มาจากบุคคลผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ซึ่งเราเรียกกันว่า “ครู

       ถึงแม้ในทุกวันนี้เทคโยโลยีต่างๆ จะมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น สื่อการเรียนการสอนมีอยู่แพร่หลาย แต่คนไทยก็ยังคงให้ความสำคัญกับครูด้วยเหตุผลที่ว่า ความรู้ที่มาจากการทอดโดยบุคคลเป็นความรู้ที่เป็นทักษะเฉพาะ เป็นสิ่งที่เกิดจากการสั่งสมความรู้ ประสบการณ์และการปฏิบัติจนเชี่ยวชาญที่อาจไม่สามารถถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือได้ ครูจึงเปรียบเสมือนพ่อและแม่คนที่ 2 ของศิษย์ ผู้ที่ประสบความสำเร็จได้เป็นเพราะมีแม่เป็นผู้ให้กำเนิด มีครูเป็นผู้ให้ความรู้ ความคิด สติปัญญา และชี้ทางสว่างให้กับชีวิต ประเพณีการไหว้ครูจึงยังสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรมการแข่งขันเนื่องในกิจกรรมวันไหว้ครู

1.ระบายสีระดับอนุบาล
2.ระบายสีระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – 6
3.เขียนเรื่องจากภาพ ระดับประถมศึกษา ป.4 – ป.6
4.แต่งกลอน 8 “ระลึกถึงพระคุณครู ” ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3
5.เขียนเรียงความ “ครูดีในดวงใจ” ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6

*****เริ่มส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 16 – 23 กรกฏาคม 2564 ถึงเวลา 16.30 น.*****

โดยส่งผ่านทาง Facebook คุณครู ดังนี้

1. ระดับอนุบาล
      – Darunee Thongphaphumpreeda

2. ระดับประถมศึกษา ๑-๓
      – Apichada  Soisang

3. ระดับประถมศึกษา ๔-๖     
     – J’Jitraporn Chaiyaphan

4. ระดับมัธยมศึกษา ๑-๓
      – Mod  Thabthim
      – May  Melody

5. ระดับมัธยมศึกษา ๔-๖     
     – Wiraya Thiangtham   
     – Jantakan  Singtana
     – May  Melody

ประกาศผลการแข่งขันวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 ทางเพจโรงเรียนสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทยอุทิศ

**นักเรียนจะได้รับเกียรติบัตรหลังจากจบกิจกรรม***

กิจกรรมในวันไหว้ครู

ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมในวันไหว้ครู เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ซึ่งรูปแบบการทำกิจกรรมที่ชัดเจนในปัจจุบัน คือ
– การไหว้ครูในสถานศึกษา ที่มีตั้งแต่ระดับอนุบาล ไปจนกระทั่งถึงระดับอุดมศึกษา
– มีพิธีทางศาสนา พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
– ต่อด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
– และการแข่งขันประกวดพานไหว้ครู โดยให้นักเรียนได้แสดงความคิดสร้างสรรค์และใช้ดอกไม้ที่สัญลักษณ์ของวันไหว้ครูมาประดับตกแต่งให้เกิดความสวยตามสมัยนิยม ที่ประกอบไปด้วย ดอกมะเขือ หญ้าแพรก ข้าวตอก ดอกเข็ม

พานไหว้ครู

      พานในวันไหว้ครู มักจะประกอบไปด้วย ธูป เทียน และดอกไม้ ซึ่งดอกไม้ ที่ขาดไม่ได้ในพานไหว้ครู คือ ดอกมะเขือ หญ้าแพรก ข้าวตอก และดอกเข็ม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่มีความหมายเป็นปริศนาธรรมทั้งสิ้น 

ดอกมะเขือ

      เป็นดอกที่โน้มต่ำลงมาเสมอ ไม่ได้เป็นดอกที่ชูขึ้น คนโบราณจึงกำหนดให้เป็นดอกไม้สำหรับไหว้ครู ไม่ว่าจะเป็นครูดนตรี ครูมวย ครูสอนหนังสือ ก็ให้ใช้ดอกมะเขือนี้ เพื่อศิษย์จะได้อ่อนน้อมถ่อมตนพร้อมที่จะเรียนวิชาความรู้ต่างๆ นอกจากนี้มะเขือยังมีเมล็ดมาก ไปงอกงามได้ง่ายในทุกที่ เช่นเดียวกับหญ้าแพรก

หญ้าแพรก 

      เป็นหญ้าที่เจริญงอกงาม แพร่กระจายพันธ์ ไปได้อย่างรวดเร็วมาก หญ้าแพรกและดอกมะเขือในวันไหว้ครูจึงมีความหมายซ่อนเร้นอยู่ คนโบราณจึงถือเอาเป็นเคล็ดว่า ถ้าใช้หญ้าแพรกดอกมะเขือไหว้ครูแล้ว สติปัญญาของเด็กจะเจริญงอกงามเหมือนหญ้าแพรกและ ดอกมะเขือนั่นเอง

ดอกเข็ม 

     เพราะดอกเข็มนั้นมีปลายแหลม สติปัญญาจะได้แหลมคมเหมือนดอกเข็ม และก็อาจเป็นได้ว่า เกสรดอกเข็มมีรสหวาน การใช้ดอกเข็มไหว้ครู วิชาความรู้จะให้ประโยชน์กับชีวิต ทำให้ชีวิตมีความสดชื่นเหมือนรสหวานของดอกเข็ม

ข้าวตอก 

เป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย แม้ว่าโดยธรรมชาติแล้วคนเรามักจะมีความซุกซน ความเกียจคร้าน เป็นสมบัติมากบ้าง น้อยบ้างก็ตาม เมื่อมีความต้องการศึกษาหาความรู้ เขาก็ต้องรู้จักควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบ ในระเบียบหรือในกฎเกณฑ์ที่สถาบันได้กำหนดไว้ ใครก็ตามหากตามใจตนเอง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ บุคคลนั้นก็จะเป็นเหมือนข้าวเปลือกที่ถูกคั่ว แต่ไม่มีโอกาสได้เป็นข้าวตอก

แบบประเมินความพึงพอใจ

โรงเรียนสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทยอุทิศ หมู่ 8 บ้านรวมใจ ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 71180
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทวงศึกษาธิการ